ปตท.) ร่วมมสธ. เปิดรับสมัครทุนศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต แขนงวิชาการสื่อสารดิจิทัล เปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับผู้นำชุมชน ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผู้พิการ กลุ่มเปราะบาง กลุ่มประชาชนที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองด้านการสื่อสาร
ผศ.ดร.กานต์ บุญศิริ ประธานกรรมการประจำ
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (คณบดี)มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า โครงการนี้เกิดจาก มสธ.ได้ประสานงานขอทุนให้กับนักศึกษาจากปตท.มาช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาแล้ว และในปีนี้ทางปตท.ครบรอบการก่อตั้ง 45 ปี และมสธ.ก็ครบรอบ 45 ปีเช่นเดียวกัน จึงเกิดโครงการ ปตท. ร่วมกับ
มสธ. จุดพลังนักสื่อสารรุ่นใหม่ยุคดิจิทัล ส่งเสริมการศึกษาด้านการสื่อสาร พัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่
สังคมและประเทศ
โดยสนับสนุนทุนในการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต แขนงวิชาการสื่อสารดิจิทัลในพื้นที่ 4 ภาค 4 จังหวัดนำร่อง คือ ภาคเหนือ จ.ลำปาง ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี ภาคอีสาน จ.อุดรธานี และ ภาคใต้ จ.สงขลา จังหวัดละ 25 ทุน รวม 100 ทุน
ผศ.ดร.กานต์ กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการสื่อสาร การสนับสนุนการศึกษาด้านการสื่อสารในยุคดิจิทัลของปตท.เพราะมีความต้องการผลิตนักสื่อสารที่ดี เพื่อจะได้เป็นต้นแบบ ทั้งสามารถให้คำแนะนำต่อชุมชนได้ ป้องกันการสื่อสารที่จะนำความเสียหายแก่ตนเอง การหลอกลวง หรือเฟคนิวส์ต่างๆ
สำหรับคุณคุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครรับทุน 1 เป็นผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า โดยไม่เคยจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า และไม่อยู่ระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า
- เป็นผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือ เทียบเท่า และมีการประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และ 3. เป็นผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือ เทียบเท่า และมีอายุเกิน 25 ปี
วิธีเรียนจะใช้การเรียนสองส่วน คือการเรียนออนไลน์ และการเรียนที่ศูนย์การเรียนของมสธ.ที่มีอยู่ตามจังหวัดต่างๆ กล่าวคือ ในรายหนึ่งวิชาจะเป็นการเรียนออนไลน์หนึ่งครั้ง และการเรียนแบบออนไซด์หรือเผชิญหน้าหนึ่งครั้ง รวมทั้งการเรียนเสริมลักษณะติวเข้มอีกประมาณ 1-2 ชั่วโมง ในแต่ละรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้พบปะกับอาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้วางไว้
“การสื่อสารในยุคดิจิทัลถือว่ามีความจำเป็นสำหรับทุกวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงานหรือการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ดังนั้นความรู้เรื่องการสื่อสารไม่ได้จำเป็นแค่ในส่วนของนักสื่อสารมวลชนเท่านั้น สำหรับเราทุกคนในปัจจุบัน เราเรียกว่า “ผู้ส่งสาร” ซึ่งอาจไม่ได้เรียนจบมาด้านการสื่อสารมวลชน หรือนิเทศน์ศาสตร์ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการที่เราต้องให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการสื่อสารที่ถูกต้อง เป็นการสื่อสารที่ดีมีประโยชน์ เพื่อสังคมก็จะได้รับสารที่ดีที่ถูกต้อง ไม่สร้างการสื่อสารที่เป็นเฟคนิวส์หรือสิ่งที่เป็นภัยต่อสังคม เพื่อจะได้ไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา” ผศ.ดร.กานต์ กล่าว