Home » ข่าว » พบไมโครพลาสติก เกาะหนู-เกาะแมวสูง

พบไมโครพลาสติก เกาะหนู-เกาะแมวสูง

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยพบไมโครพลาสติกบริเวณชายฝั่งจังหวัดสงขลา แถว ๆ เกาะหนู เกาะแมว จำนวนมากใกล้เคียงปากน้ำชุมพร รองจากแม่น้ำเจ้าพระ ห่วงเข้าสู่วงวงจรอาหาร
เมื่อเร็ว ๆ นี้ เฟชบุ๊กส่วนตัว “Thon Thamrongnawasawat” โพสต์ภาพและข้อความ นางเงือกคงสงสัย คนกรุงเทพมาสงขลาทำไมหนอ ? คนอื่นอาจมาเที่ยว มากิน มาเช็คอิน แต่พวกพี่มาลากไมโครพลาสติก ตรวจสุขภาพทะเลให้คนสงขลาจ้ะ ☺
ผลการสำรวจเบื้องต้น เอ้อ…เยอะฮะ น่าจะน้อยกว่าเจ้าพระยา แต่เยอะกว่าหลายเกาะในทะเล ก็คงต้องช่วยๆ กันดูแลเรื่องขยะหน่อยนะฮะ นางเงือกไม่ได้กล่าวไว้ ธรณ์กล่าวเอง ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อสุขภาพของคนสงขลา ของคนไทย ของชาวโลก
เราคงไม่อยากให้ไมโครพลาสติกสะสมจนส่งผลต่อเราและลูกหลานในวันข้างหน้า ถึงตอนนั้นแก้ปัญหาไม่ได้จริงๆ นะ
ทำงานเสร็จแล้ว กินดีกว่า ของกินสงขลามันร่อยอย่างแรงครับ 😋 โครงการตรวจสุขภาพทะเล – สำรวจไมโครพลาสติกทั่วอ่าวไทย เป็นความร่วมมือระหว่างคณะประมง – ปตท.สผ..
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผย “ผู้สื่อข่าว” ว่า


เป็นการทำบริเวณชายฝั่งจังหวัดสงขลา แถว ๆ เกาะหนู เกาะแมว และแถว ๆท่า แต่จริง ๆ ตรงพื้นที่ไม่เกี่ยว ไม่ได้หมายความว่าไปทำหน้าท่าเรือ แล้วจะหมายถึงท่าเรือจะปล่อยไมโครพลาสติกเยอะ ไม่เหมือนน้ำเสีย
เพราะฉะนั้นพื้นที่ ๆ ทำ เป็นพื้นที่ ๆ เป็นตัวแทนของชายฝั่งทะเลสงขลา ซึ่งโครงการที่ทำก็คือทำทั้งอ่าวไทย ตั้งแต่เจ้าพระยา แถวพัทยา ลงมาที่ปากน้ำชุมพร และมาที่สงขลา ซึ่งอยู่ด้านใต้สุด
ส่วนตามเกาะ จะทำทั้งเกาะเต่า เกาะล้าน เกาะโลซิน และเรื่อยๆปจนถึงแท่นผลิตปิโตรเลียมกลางอ่าวไทย ซึ่งจะเป็นการทำงานที่ครบทั้งอ่าวไทย ที่มีตั้งแต่ติดฝั่ง ก็คือเจ้าพระยา ชุมพร สงขลา
และก็มีส่วนที่เป็นเกาะ ก็จะมีเกาะเต่า เกาะโลซิน และที่ห่างจากฝั่งมากที่สุดก็คือ แทนผลิตปิโตรเลียมซึ่งห่างจากฝั่งประมาณ 100 กว่ากิโลเมตร


เพราะฉะนั้นถ้าจะถามว่าปริมาณไมโครพลาสติกสงขลาที่พบเป็นปริมาณที่ค่อนข้างเยอะนั้น มันเยอะกว่าแน่นอน ก็คือเยอะกว่าเกาะเต่า มันเยอะกว่าเกาะโลซิน อันนี้แน่นอน เยอะกว่าแท่นผลิตปิโตรเลียมเยอะแน่นอน
แต่ถ้าจะเทียบว่ามันเยอะที่สุดมั๊ย ก็ไม่ใช่ ที่เยอะกว่าก็คือแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเจ้าพระยาเยอะกว่า แต่ถ้าเกิดเรียงลำดับกัน เอาเป็นว่า ณ ตอนนี้เท่าที่คร่าว ๆ แม่น้ำเจ้าพระยามีเยอะที่สุด
ขณะที่สงขลากับชุมพรยังนับไม่ละเอียด เพียงแต่ว่าสงขลาก็อาจจะแตะ ๆ กันระหว่างสงขลากับปากน้ำชุมพร ซึ่งปริมาณที่พบในขณะนี้ถามว่าจะเกิดอะไรตามมา
ก็คือไมโครพลาสติกเราก็คงไม่อยากให้มีเยอะ เพราะถ้ามียิ่งเยอะมันก็ยิ่งสงผลกระทบ เพราะว่ามันจะเข้าไปในวงจรอาหาร แล้วก็อาจจะนำพาพวกโลหะหนักหรืออะไรเข้าไป
“ยิ่งปริมาณยิ่งเยอะ องค์การอนามัยโลกเขาก็บอกตั้งแต่ต้นแล้วว่า อาจจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ในอนาคต แต่เขาก็ยังฟันธงไม่ได้ว่าโรคที่ร้ายแรง อย่าง มะเร็ว ใครจะไปรู้ได้ว่ามะเร็งเกิดจากอะไร”
สรุปก็คือคงไม่มีใครอยากให้มีเยอะ ๆ เพราะถ้าเกิดมันเข้าไปในสุขภาพผ่านวงจรอาหารเข้าไปในสุขภาพ มันก็แก้ไขไม่ได้ แม้ว่ามันไม่ตายภายในวันเดียว แต่มันจะเกิดอะไรต่อเนื่องยาวไปหลายปีจึงจะเห็นผล
เนื่องจากไมโครพลาสติก ไม่เป็นในลักษณะของสารพิษที่กินแล้วตายเลย แต่มันอาจจะทำให้เกิดการสะสมสารที่ไม่พึงปรารถนาเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบในระยะยาว


ทำให้ทั่วโลกเขาถึงเป็นห่วง แต่ถ้าเกิดกินแล้วตายเลยมันก็ชัดเจนว่าจะหยุดหรือระงับหรืออะไร แต่ที่สะสมเป็นเวลานาน ๆ อย่างนี้ มันก็เหมือนบุหรี่ประมาณนั้น ที่สะสมเป็นเวลานาน ๆ
สำหรับต้นทางของไมโครพลาสติกมี 2 ทาง ทางแรก็คือเป็นไมโครพลาสติดตั้งแต่ต้น ก็คือพวกแปรงสีฟันฟอกขาวที่ใส่เม็ดเล็ก ๆ สาก ๆ หรือพวกโฟมล้างหน้า ที่ล้างแล้วสาก ๆ พวกนั้นจะใส่เม็ดพลาสติกเล็ก ๆ อันนั้นคือไมโครพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งตอนนี้เมืองไทยก็พยายามห้ามและยกเลิกอยู่
ทางที่สองก็คือพลาสติกที่ย่อยสลายมา ตรงนี้สุดที่จะอธิบายได้ เนื่องจากมาได้จากทุกทาง เช่น เสื้อผ้า ที่เป็นตัวนำมาไมโครพลาสติกค่อนเยอะ เพราะเสื้อผ้าในปัจจุบันไม่ใช่คอตตอน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นเสื้อโพลีเอสเตอร์ ซึ่งมันมีส่วนผสมของไมโครพลาสติก
“อย่างแม่น้ำเจ้าพระยาหรือตามชายฝั่ง เส้นใยที่มาจากเสื้อผ้าสัดส่วนจะสูง ขนาดที่ออกไปกลางทะเลจะกลายเป็นลักษณะของไมโครพลาสติกที่มาจากเครื่องมือประมงมากกว่า”

สำนักข่าวโฟกัส/ขอบคุณภาพ-ข่าวเฟชบุ๊กส่วนตัว “Thon Thamrongnawasawat”
สมชาย สามารถ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *