Home » ข่าว » ระดมความเห็น ครั้งที่2 “SEA”สงขลา-ปัตตานี

ระดมความเห็น ครั้งที่2 “SEA”สงขลา-ปัตตานี

สงขลา – สภาพัฒน์ฯ ร่วมกับม.อ. จัดประชุมระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (เวทีที่ 3-5) ภายใต้โครงการการจัดทําการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับ ยุทธศาสตร์ สําหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี(SEA)

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ที่ปรึกษาโครงการ จัดประชุมระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (เวทีที่ 3-5) ภายใต้โครงการการจัดทําการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สําหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของ จังหวัดสงขลาและปัตตานี (SEA สงขลา-ปัตตานี) ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคาร LRC 1 ม.อ. วิทบสเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา โดย ดร.วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นประธาน เปิดการประชุม มีคณะกรรมกํากับโครงการฯ เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุม

โครงการ SEA สงขลา-ปัตตานี เป็นการดําเนินการที่เกิดขึ้นมาจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่มอบหมายให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) และแผนแม่บทต่าง ๆ โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการ

ซึ่งที่ผ่านมา สศช. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํามายกร่างขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา และใช้ในกระบวนการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก และได้ม.อ. มาเป็นที่ปรึกษาโครงการ เพื่อทําหน้าทจี่ัดทําแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานีโดยใช้กระบวนการ SEA ตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ของ สศช. เพื่อทําแผนให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ คํานึงถึงความสมดุลของการพัฒนา ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และให้ความสําคัญกับการมีส่วน ร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่จะนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

โครงการนี้ มีกรอบระยะเวลาดําเนินการ 18 เดือน โดยให้ความสําคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการแสดงความคิดเห็นในทุกขั้นตอนของการจัดทําแผนแม่บทด้วย SEA ซึ่งได้กําหนดไว้ไม่น้อยกว่า 40 เวที ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมการหารือกลุ่มย่อยแบบไม่เป็นทางการอีกหลายครั้ง การประชุมระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ เป็นการจัด ครั้งที่ 2 เวทีที่ 3-5 จังหวัดสงขลา เพื่อระดมความคิดเห็น ต่อกรอบอ้างอิงเชิงยุทธศาสตร์ ข้อมูลพื้นฐานและทุนทางทรัพยากร

รวมทั้ง การระบุประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าหมายการพัฒนา และวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการระบุผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งสอดคล้องกับ ขั้นตอนการกําหนดขอบเขตของกระบวนการ SEA สําหรับการจัดทําแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัด สงขลาและปัตตานี

ทั้งนี้ ผลลัพธ์จะได้นําไปกําหนดแผนการสื่อสารและการมีส่วนร่วม รวมถึงการกําหนด วิสัยทัศน์ และประเด็นการพัฒนาของแผนแม่บทฯ ให้เป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนได้เสียต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วม ประชุม รวมทั้ง 3 เวที ระหว่างวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2566 ประมาณ 200 คน ประกอบด้วย

หน่วยงานภาครัฐ เช่น สํานักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน สํานักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สํานักงานจังหวัด สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สํานักงานเกษตรจังหวัด สถาบันการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลองค์การบริหารส่วนตําบลที่เป็นที่ตั้งของพื้นที่ เป้าหมายทั้งในจังหวัดสงขลา และพื้นที่เป้าหมาย เป็นต้น

ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เช่น หอการค้า จังหวัด สภาอุตสาหกรรม สมาคมส่งเสริมการโรงแรมและการท่องเที่ยว เป็นต้น

ภาคประชาสังคมและภาค ประชาชน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาศัยในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น สภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สมาคมรักษ์ทะเลไทย เป็นต้น และ สื่อมวลชน ทั้งจากส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค

รูปแบบการประชุมระดมความคิดเห็น ในช่วงเช้าเป็นการนําเสนอ ทิศทางการพัฒนาของพื้นที่ ข้อมูล พื้นฐานและทุนทางทรัพยากรของแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี โดย ดร.สินาด ตรีวรรณไชย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาระบบบริหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ และระดมความคิดเห็นในทิศทางการ พัฒนา และข้อมูลและทุนทรัพยากรในพื้นที่ รวมทั้ง การระบุประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าหมายการพัฒนา และ วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

และในช่วงบ่ายเป็นการนําเสนอ ร่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและบทบาทความเกี่ยวข้องกับแผนแม่บทฯ โดย ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ ผู้อํานวยการศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. และระดมความคิดเห็นในเรื่องการระบุกลุ่มผู้ส่วนได้เสีย รวมทั้งบทบาทของแต่ละกลุ่มต่อแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี

ผลจากการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ ที่ปรึกษาจะนําไปประมวลผลและวิเคราะห์ถึงการกําหนดกรอบ อ้างอิงยุทธศาสตร์และขอบเขตเชิงพื้นที่และเชิงเวลารวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลฐานและจัดทําแผนการสื่อสาร และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยที่ปรึกษาจะนําผลการวิเคราะห์กลับมารับฟังความคิดเห็น ในการประชุมเวทีต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ สามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของโครงการฯ ได้ผ่านช่องทาง เว็บไซต์ของสภาพัฒน์ฯ Facebook: @SEASongkhlaPattani หรือประสาน ฝ่ายพันธกิจสังคม สํานักพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม ม.อ.

สำนักข่าวโฟกัส

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *