อบจ.สงขลา จังหวัดสงขลา และ ม.หาดใหญ่ ร่วมลงนามในการพัฒนาการเลี้ยงและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ่งชันโรง เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชุมชน ตั้งเป้าสงขลา เป็นศูนย์กลางความรู้ผึ้งชันโรง
3 กันยายน 2567 นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา, ผศ.ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่, ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ ม.หาดใหญ่,ผศ.ดร.นุกูล ชิ้นฟัก คณบดีคณะรัฐศาสตร์ม.หาดใหญ่และนางปิยะนันท์ สิงห์ทอง รองปลัด อบจ.สงขลารักษาราชการแทนปลัดอบจ.สงขลา
ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทางด้านการบริการวิชาการและการจัดจำหน่ายการสร้างเครือข่ายสงขลา “เมืองผึ้งชันโรง” โดยจัดตั้งศูนย์กลางผึ้งชันโรง (อุง)จังหวัดสงขลา (Hub of Knowledge Stingless Bee, Songkhla Province)เพื่อร่วมกันพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่ห้องประชุมชั้น 4 สำนักงานอบจ.สงขลา ต.พะวง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
นายไพเจน มากสุวรรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการส่งออกน้ำผึ้งชันโรงไปขายต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย และยังเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศแต่เกษตรกรยังผลิตได้ไม่ทันต่อความต้องการเนื่องจากชันโรงขยายประชากรได้ช้ากว่าผึ้ง และยังมีการดำรงชีวิตที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายพันธุ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีราคาสูง โดยน้ำผึ้งชันโรง ให้ผลผลิตน้ำผึ้งเฉลี่ย 300-500 กรัม/รัง จำหน่ายได้ในราคาเฉลี่ย1,500 – 2,000 บาท/ กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป ส่วนชันของชันโรง จำหน่ายได้ในราคา 800 – 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพที่ได้
นายกไพเจน กล่าวว่า ความร่วมมือในการลงนามครั้งนี้ ดังนี้ 1..จังหวัดสงขลา และอบจ.สงขลาจะสนับสนุนงบประมาณประจำปี เพื่อจัดตั้ง “ศูนย์กลางความรู้ผึ้งชันโรง (อุง) จังหวัดสงขลา (Hub of Knowledge Stingless Bee, Songkhla Province)”เพื่อรวบรวมและสร้างองค์ความรู้และพัฒนาอาชีพเสริมเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งชันโรง การแปรรูปผลิตภัณฑ์การจัดจำหน่าย การสร้างเครือข่ายสงขลาเมืองผึ้ง
ชันโรงให้แก่ประชาชนในจังหวัดสงขลา
2.ม.หาดใหญ่ จะสนับสนุนพื้นที่ในการจัดตั้งศูนย์กลางความรู้ผึ้งชันโรง (อุง) จังหวัดสงขลา (Hubof Knowledge Stingless Bee, SongkhlaProvince) เพื่อบริการวิชาการด้านการเลี้ยงผึ้งชันโรงให้แก่ผู้ประกอบการและกลุ่มผู้เลี้ยงชันโรงในจังหวัดสงขลา 3. ม.หาดใหญ่ จะเสนอโครงการขอทุนวิจัยการจัดประชุมวิชาการ การฝึกอบรมและกิจกรรมการบริการวิชาการจากแหล่งทุนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ในการยกระดับ การจัดตั้งศูนย์กลางความรู้ผึ้งชันโรง (อุง) จังหวัดสงขลา ให้เป็น ศูนย์กลางความรู้
ด้านชั้นโรงแบบครบวงจร
4. ม.หาดใหญ่ จะสนับสนุนด้านการยกระดับทักษะความรู้ความสามารถ (Reskill, upskill และ Futureskill) การเลี้ยงผึ้งชันโรงในการประกอบอาชีพให้แก่ผู้ประกอบการและกลุ่มผู้เลี้ยงชันโรงใน จังหวัดสงขลา 5.ม.หาดใหญ่ จะบริการทางการตลาด เพื่อจำหน่ายน้ำผึ้งชันโรงและผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากผึ้งชันโรงแบบออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการและกลุ่มผู้เลี้ยงชันโรงในจังหวัดสงขลาที่มีความต้องการ ผ่านระบบ HU Marketing Hub ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และ 6 อื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน
ชันโรง หรือ ”อุง” เป็นแมลงช่วยผสมเกสรในสวนผลไม้และพืชผักเกือบทุกชนิด บินออกหาอาหารในรัศมีประมาณ 300 เมตร ไม่มีพฤติกรรมทิ้งรัง ไม่เลือกตอมดอก ทำให้ผสมเกสรพืชได้ดีกว่าผึ้งเกษตรกรนิยมเลี้ยงชันโรงในสวนไม้ผล เพราะช่วยให้ผลผลิตติดดอกออกผลดี ได้รูปทรงผลที่สวยงามและมีคุณภาพดี และชันโรงยังเป็นแมลงชี้วัดความปลอดภัยจากสารเคมีในผลผลิต ซึ่งการเลี้ยงชันโรงสามารถเลี้ยงได้ ทั้งรูปแบบอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายไปตามแหล่งอาหาร โดยนิยมเลี้ยงในกระบอกไผ่ในกล่องหรือลังไม้ เพราะนอกจากจะช่วยควบคุมอุณหภูมิได้ดีแล้ว ยังเป็นวัสดุที่หาง่าย ราคาไม่แพง และคงทน